การตรวจสอบน้ำมันปลอมปนเบื้องต้น

การปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง เกิดจากการนําน้ำมันที่มีราคาถูกกว่ามาผสมปลอมปนแล้วจําหน่ายเป็นน้ำมัน เชื้อเพลิงชนิดที่มีราคาแพงกว่า ซึ่งเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้านได้แก่

ด้านประชาชนผู้บริโภค

ประชาชนผู้บริโภคถูกหลอกลวง ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการได้รับสินค้าไม่ตรงตามความต้องการหรือมีคุณภาพต่ำ และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการซ่อมแซมเครื่องยนต์ที่ชํารุดเสียหาย และส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวมของประเทศ นอกจากนี้การใช้น้ํามันที่มีคุณภาพต่ำที่เกิดจากการปลอมปนยังทําให้การทํางานของเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพลดลง ก่อให้เกิดมลพิษเพิ่มขึ้นที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม

ด้านรัฐ

รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีและเงินกองทุนน้ํามัน ที่กําหนดไว้ในอัตราที่สูงสําหรับน้ํามันชนิดที่มีราคาแพง

ด้านผู้ประกอบการค้าที่สุจริต

ผู้ประกอบการค้าที่สุจริตต้องประสบภาวะการณ์ขาดทุน ซึ่งอาจถึงขั้นล้มเลิกกิจการเนื่องจากมีภาระต้นทุนสูงกว่า

กรมธุรกิจพลังงาน

ได้จัดทําวิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ํามันเชื้อเพลิงแบบเบื้องต้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงเผยแพร่ให้ประชาชนผู้สนใจ เพื่อร่วมกับทางราชการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการปลอมปนน้ํามันต่อไป โดยสามารถตรวจสอบคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ซึ่งพอสรุปได้ คือ

ทั้งนี้ วิธีการทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ข้างต้น สามารถดูรายละเอียดได้ ดังต่อไปนี้

» น้ำมันเบนซิน

ลักษณะการปลอมปนที่พบ : ปนน้ํา ปนดีเซลหมุนเร็ว ปนเแก๊สโซฮอล์ ปนเมทานอล ปนโซลเว้นท์

การตรวจสอบ

1.สี

  • วัตถุประสงค์ : เพื่อสังเกตความแตกต่างระหว่างน้ํามันชนิดต่างๆ ที่มีสีแตกต่างกัน

  • อุปกรณ์ที่ใช้ : ขวด/แก้ว (ใส) สําหรับใส่น้ํามัน

  • วิธีตรวจสอบ : ตรวจพินิจด้วยสายตา

  • เกณฑ์พิจารณา :  น้ำามันเบนซิน ต้องมีสีเหลือง

2.ลักษณะที่ปรากฏ

  • วัตถุประสงค์ : เพื่อสังเกตการนําสิ่งอื่นมาผสมปลอมปนในน้ํามัน

  • อุปกรณ์ที่ใช้ : ขวด/แก้ว (ใส) สําหรับใส่น้ํามัน

  • วิธีตรวจสอบ : ตรวจพินิจด้วยสายตา

  • เกณฑ์พิจารณา : ต้องเป็นของเหลวใส ไม่ขุ่น ไม่แยกชั้น ไม่มีสารแขวนลอยและตะกอน กรณีมีน้ำปนในน้ํามันเบนซินมีลักษณะแยกชั้น ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (น้ำอยู่ด้านล่าง)

 3.การระเหย

  • วัตถุประสงค์ : เพื่อตรวจสอบน้ำมันเบนซินที่อาจถูกปลอมปนด้วยน้ำมันดีเซล หรือน้ำมันอื่นๆโดยอาศัยคุณสมบัติของ น้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นของผสมซึ่งมีอัตราการระเหย หรือจุดเดือดแตกต่างกัน โดยน้ำมันเบนซินเป็นน้ำมันชนิดเบามีช่วงจุดเดือด ประมาณ30 – 200 องศาเซลเซียส จึงมีคุณสมบัติที่ระเหยได้ง่ายกว่าน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันดีเซล ซึ่งมีช่วงจุดเดือดสูงกว่าอยู่ที่ประมาณ 180 – 370 องศาเซลเซียส
  • อุปกรณ์ที่ใช้ : กระดาษถ่ายเอกสารสีขาว และอุปกรณ์ที่สามารถหยดน้ำมันได้เช่น หลอดกาแฟ

  • วิธีตรวจสอบ : หยดน้ำมันเบนซินลงบนกระดาษขาวให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ2.5 ซม. แล้วจับเวลาตั้งแต่เริ่มหยดจนกระทั่งน้ำมันระเหยหมด ในกรณีที่มีน้ำมันดีเซลปนอยู่จะปรากฏคราบติดอยู่บกระดาษจนสังเกตได้ชัดเจน การทดสอบควรทําในห้องที่มีแสงสว่างเพียงพอ และไม่มีลม

  • เกณฑ์พิจารณา : เวลาในการระเหยไม่เกิน 45 วินาที ถ้าเกินสันนิษฐานว่าน้ำมันเบนซินอาจมีน้ํามันดีเซลปลอมปน

4.ค่าความถ่วง API

  • วัตถุประสงค์ : เพื่อตรวจสอบหาค่าความถ่วงจําเพาะของน้้ำมันเชื้อเพลิงมีหน่วยเป็นองศา (°)ซึ่งกําหนดขึ้นโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา (American Petroleum Institute) เป็นค่าที่แสดงความหนัก-เบาของน้ํามัน สามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าไฮโดรมิเตอร์ (Hydrometer)
  • อุปกรณ์ที่ใช้ :
    • กระบอกตวงขนาด 500 มิลลิลิตร
    • ไฮโดรมิเตอร์ชนิดมีเทอร์โมมิเตอร์อยู่ในตัว เมื่อใช้วัดอ่านได้ทั้งค่า API และอุณหภูมิของน้ำมันในขณะที่วัดน้ำมันเบนซินใช้ไฮโดรมิเตอร์ช่วงวัด 49 – 61 หรือ 59 – 71
    • เทอร์โมมิเตอร์ (กรณีใช้ไฮโดรมิเตอร์ชนิดไม่มีเทอร์โมมิเตอร์) ช่วงวัดที่อุณหภูมิ0 – 150 °F
    • ตารางแปลงค่า
  • วิธีตรวจสอบ :
    • เขย่าตัวอย่างน้ำมันที่ต้องการทดสอบให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน เทลงในกระบอกตวงเล็กน้อยเพื่อล้างทําความสะอาด กระบอกตวงจนสะอาดแล้วเททิ้งไป แล้วจึงเทตัวอย่างน้ำมันลงไปประมาณ 3 ใน 4 ของกระบอกตวงหรือมากกว่าเล็กน้อยพยายามอย่าให้มีฟองอากาศ
    • ค่อยๆ จุ่มไฮโดรมิเตอร์ลงไป แล้วปล่อยให้ลอยตัวหยุดนิ่งโดยอิสระ ไม่เกาะติดข้างแก้วของกระบอกตวง
    • อ่านค่าความถ่วง API ที่ขีดระดับของไฮโดรมิเตอร์ซึ่งตรงกับระดับน้ํามัน (ผิวโค้งล่าง) โดยให้สายตาอยู่ในระดับเดียวกับระดับน้ำมัน แล้วบันทึกค่าไว้
    • อ่านค่าอุณหภูมิของน้ำมันในระดับสายตาในขณะที่ไฮโดรมิเตอร์จุ่มอยู่ในน้ำมัน(ผิวโค้งล่าง) แล้วบันทึกค่าไว้ (ไฮโดรมิเตอร์ชนิดที่มีเทอร์โมมิเตอร์อยู่ในตัว) หรืออ่านค่าอุณหภูมิของน้ำมันในระดับสายตาในขณะที่เทอร์โมมิเตอร์จุ่มอยู่ในน้ำมันในระดับเดียวกับไฮโดรมิเตอร์แล้วบันทึกค่าไว้
  • เกณฑ์พิจารณา : นําค่าความถ่วง API และค่าอุณหภูมิที่อ่านได้ไปเปิดตารางแปลงค่า โดยแทนค่าความถ่วง API ลงในบรรทัดบนสุด หรือล่างสุดและค่าอุณหภูมิลงในแนวตั้งซ้ายสุดหรือขวาสุดของตาราง ลากมาพบกันจะได้ค่าความถ่วง API ที่อุณหภูมิ 60 ° F (15.6 ° C)

5. การละลายหมึก

  • วัตถุประสงค์ : เพื่อตรวจสอบน้ํามันเบนซินที่ถูกปลอมปนด้วยน้ํามันแก๊สโซฮอล์ หรือปลอมปนด้วยเมทานอลโดยอาศัยคุณสมบัติของแอลกอร์ฮอล์ที่เป็นตัวทําละลายหมึกที่ดี ต่างจากน้ํามันเบนซินที่ไม่ละลายหมึก
  • อุปกรณ์ที่ใช้ :
    • กระดาษถ่ายเอกสารสีขาว
    • ปากกาลูกลื่นสีใดก็ได้ (ควรเป็นชนิดที่หมึกมีสีเข้ม)
    • อุปกรณ์ที่สามารถหยดน้ํามันได้เช่น หลอดกาแฟ
  • วิธีตรวจสอบ :
    • ใช้ปากกาลูกลื่นเขียนตัวหนังสือหรือภาพลงบนกระดาษขาว
    • หยดน้ํามันเบนซินที่ต้องการทดสอบลงบนกระดาษ 1 หยด ตรงจุดที่มีการเขียนไว้ด้วยปากกาลูกลื่น
  • เกณฑ์พิจารณา : น้ํามันเบนซินที่มีแก๊สโซฮอล์หรือเมทานอลผสมอยู่ ตัวหนังสือหรือภาพที่วาดไว้พบว่าหมึกจะละลายออกมาและเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นตามปริมาณที่ผสมอยู่ (ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนในช่วงที่มีเอทานอลหรือเมทานอล ผสมอยู่ตั้งแต่ร้อยละ 3โดยปริมาตร ขึ้นไป ) 

» น้ำมันแก๊สโซฮอล

ลักษณะการปลอมปนที่พบ : ปนน้ำ ปนดีเซลหมุนเร็ว ปนเมทานอล

การตรวจสอบ

1. สี

  • วัตถุประสงค์ : เพื่อสังเกตความแตกต่างระหว่างน้ำมันชนิดต่างๆ ที่มีสีแตกต่างกัน

  • อุปกรณ์ที่ใช้ : ขวด/แก้ว (ใส) สําหรับใส่น้ํามัน

  • วิธีตรวจสอบ : ตรวจพินิจด้วยสายตา

  • เกณฑ์พิจารณา :

    1. น้ํามันแก๊สโซฮอล์อี 10 ออกเทน 91 ต้องมีสีเขียว

    2. น้ํามันแก๊สโซฮอล์อี 10 ออกเทน 95 ต้องมีสีส้ม

    3. น้ํามันแก๊สโซฮอล์อี 20 ไม่กําหนดสี

    4. น้ํามันแก๊สโซฮอล์อี 85 ไม่กําหนดสี

2. ลักษณะที่ปรากฏ

  • วัตถุประสงค์ : เพื่อสังเกตการนําสิ่งอื่นมาผสมปลอมปนในน้ํามัน

  • อุปกรณ์ที่ใช้ : ขวด/แก้ว (ใส) สําหรับใส่น้ํามัน

  • วิธีตรวจสอบ : ตรวจพินิจด้วยสายตา

  • เกณฑ์พิจารณา : ต้องเป็นของเหลวใส ไม่ขุ่น ไม่แยกชั้น ไม่มีสารแขวนลอยและตะกอนกรณีมีน้ําปนในน้ํามันแก๊สโซฮอล์มีลักษณะแยกชั้น ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (น้ำอยู่ด้านล่าง)

3. การระเหย

  • ตรวจสอบเช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน

4. ค่าความถ่วง API

  • ตรวจสอบเช่นเดียวกับน้ํามันเบนซิน โดยใช้ไฮโดรมิเตอร์ช่วงวัด 49 – 61 หรือ 59 – 71
    และเทอร์โมมิเตอร์ช่วงวัดที่อุณหภูมิ 0 – 150 ° F

5. ปริมาณเอทานอลในน้ํามันแก๊สโซฮอล์

  • วัตถุประสงค์ : เพื่อตรวจสอบปริมาณเอทานอลที่ผสมอยู่ในน้ํามันแก๊สโซฮอล์ ว่ามีปริมาณตรงตามชนิดที่ระบุไว้หรือไม่
  • อุปกรณ์ที่ใช้ :
    1. กระบอกตวงแบบมีจุกปิด ขนาด 100 มิลลิลิตร
    2. ปิเปต ขนาด 50 มิลลิลิตร
    3. น้ำ
  • วิธีตรวจสอบ :
    1. นําตัวอย่างน้ํามันแก๊สโซฮอล์จํานวน 50 มิลลิลิตร ใส่ลงในกระบอกตวงชนิดมีจุกปิดขนาด 100 มิลลิลิตร
    2. เติมน้ำ 50 มิลลิลิตร ลงในกระบอกตวง ปริมาตรรวมทั้งหมดจะเท่ากับ100 มิลลิลิตร
    3. ปิดจุกกระบอกตวง และเขย่าประมาณ 5 วินาที
    4. คลายจุกออกเล็กน้อยเพื่อลดแรงดัน
    5. ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีโดยระวังอย่าให้ถูกความร้อน และแสงแดด
    6. บันทึกระดับของน้ํา (ชั้นล่าง)
  • เกณฑ์พิจารณา : คํานวณหาปริมาณของเอทานอลในน้ํามันแก๊สโซฮอล์ ดังนี้ ปริมาณเอทานอล (%) = ( ระดับน้ําที่อ่านได้ – 50 ) x 2 เช่น ถ้าอ่านระดับของน้ําได้55 มิลลิลิตร คํานวณได้ว่ามีปริมาณเอทานอล 10%

 » น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว

ลักษณะการปลอมปนที่พบ : ปนน้ํา ปนโซลเว้นท์น้ํามันลักลอบ

การตรวจสอบ

1. สี

  • วัตถุประสงค์ : เพื่อสังเกตความแตกต่างระหว่างน้ํามันชนิดต่างๆ ที่มีสีแตกต่างกัน

  • อุปกรณ์ที่ใช้ : ขวด/แก้ว (ใส) สําหรับใส่น้ํามัน

  • วิธีตรวจสอบ : ตรวจพินิจด้วยสายตา

  • เกณฑ์พิจารณา : น้ํามันดีเซลหมุนเร็ว ต้องมีสีเหลือง

2. ลักษณะที่ปรากฏ

  • วัตถุประสงค์ : เพื่อสังเกตการนําสิ่งอื่นมาผสมปลอมปนในน้ํามัน

  • อุปกรณ์ที่ใช้ : ขวด/แก้ว (ใส) สําหรับใส่น้ํามัน

  • วิธีตรวจสอบ : ตรวจพินิจด้วยสายตา

  • เกณฑ์พิจารณา : ต้องเป็นของเหลวใส ไม่ขุ่น ไม่แยกชั้น ไม่มีสารแขวนลอยและตะกอนกรณีมีน้ําปนในน้ํามันดีเซลมีลักษณะขาวขุ่น

3. ค่าความถ่วง API

  • ตรวจสอบเช่นเดียวกับน้ํามันเบนซิน โดยใช้ไฮโดรมิเตอร์ช่วงวัด 29 – 41 หรือ 39 – 51 และเทอร์โมมิเตอร์ช่วงวัดที่อุณหภูมิ 0 – 150 ° F