Q&A

ถามตอบเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ท่อน้ำมัน 2 ชั้น, ระบบ Submers & Suction, ระบบ POS, อุปกรณ์วัดปริมาณน้ำมัน, กฎหมายป้องกันไฟฟ้าสถิต, Tank Sump, การป้องกันน้ำมันรั่ว รวมไปถึง การ calibrate และ Flush line 

1) ทำไมเราต้องใช้ท่อน้ำมัน 2 ชั้น?

  • เป็นข้อบังคับตามกฎกระทรวงพลังงาน
  • ปลอดภัยจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ เนื่องจากมีผนังชั้นนอกป้องกันไม่ให้ถึงท่อชั้นใน
  • ป้องกันการรั่วซึมจากด้านในออกสู่ได้นอกได้เป็นอย่างดี
  • มีอายุการในงานที่ยาวนาน ต้านทานการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี (ในสภาวะปกติ)

2) ระบบ Suction กับ ระบบ Submers  ต่างกันอย่างไร?

  • ระบบ Suction สร้างแรงดูดจากมอเตอร์ในตู้จ่าย  และการทำระบบท่อต้องเดินเป็นแบบขนาน แยกเฉพาะตามจำนวนมือจ่ายที่มี แม้มือจ่ายเป็นผลิตภัณฑ์เดียวกันก็ต้องเดินระบบท่อแยกจากกัน
  • ระบบ Submers สร้างแรงดูดจากมอเตอร์ในถังน้ำมัน และการทำระบบท่อสามารถเดินเป็นระบบอนุกรมขึ้นตามชนิดน้ำมันนั้นๆได้ทันทีภายในท่อเส้นเดียวกัน (มือจ่ายเป็นผลิตภัณฑ์เดียวกัน สามารถเดินท่อพ่วงถึงกันโดยใช้ท่อเส้นเดียว)

3) น้ำเข้าไปในถังน้ำมันได้อย่างไร? หากตรวจพบน้ำเข้าถังจะต้องทำอย่างไร?

น้ำเข้าถังได้เกิดจากกรณีดังต่อนี้

  • การปิดฝาManholeหลังจากขั้นตอนการล้างถังโดยไม่มีการทดสอบ ทำให้มีน้ำซึมเข้าบริเวณฝา Manhole กรณีนี้อยู่ในขั้นตอนการติดตั้งซึ่งทีมงานติดตั้งต้องมีการทดสอบแรงดันหลังปิดฝาManholeทุกครั้ง
  • น้ำเข้าจากการขั้นตอนการวัดปริมาณน้ำมัน (ดึงท่อไม้วัด) โดยการใส่ฝาปิดท่อไม้วัดไม่แน่นหลังจากวัดปริมาณน้ำมันเสร็จ
  • น้ำเข้าจากระบบการระบายน้ำไม่ทันบนฝาManholeและฝาจีบท่อไม้วัด (น้ำขัง) ทำให้เกิดการท่วมอุปกรณ์ น้ำสามารถไหลซึมเข้าทางอุปกรณ์ได้
  • น้ำมันไม่ได้คุณภาพจากแหล่งกำเนิด (คลังน้ำมัน)
  • น้ำเกิดจากการกลั่นตัวในระบบทางเคมี (โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลและเบนซินE85) สามารถกลั่นตัวได้ตั้งแต่จากแหล่งผลิตจนถึงการจัดเก็บภายในถังน้ำมันใต้ดิน

หากตรวจพบน้ำเข้าถังต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

  • แจ้งทางผู้จัดการสถานีให้รับทราบถึงปัญหา
  • หยุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้นๆและทำการตรวจสอบระดับน้ำในถังโดยใช้น้ำยาวัดน้ำ หรือตรวจสอบได้จากระบบ ATG.(กรณีมีระบบวัดระดับน้ำมันและน้ำอัตโนมัติ)
  • ติดต่อบริษัทผู้ทำการ Calibrateและล้างถังเพื่อรับทราบปัญหาและร่วมเข้ามาตรวจสอบ

4) ระบบ POS คืออะไร ? มีความจำเป็นอย่างไร ?

ระบบช่วยการขายโดยคำนวณการตัดจ่ายทั้งปริมาณน้ำมันและราคาขายหน้าตู้จ่าย อีกทั้งทำหน้าที่เก็บข้อมูลการขายและดูปริมาณน้ำมันที่คงเหลือจากการขาย

5) ระบบ ATG คืออะไร ? มีความจำเป็นอย่างไร ?

เป็นอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำมันในถังอัตโนมัติแบบตลอดเวลา (Real Time) บอกปริมาณคงเหลือได้แม่นยำกว่าการวัดด้วยสายตา โดยข้อมูลจะปรากฏบนหน้าจอMonitor ทั้งนี้ยังมีฟังก์ชั่นเสริมสามารถวัดปริมาณน้ำในถังน้ำมันได้

6) ข้อกฎหมายเรื่องท่อน้ำมันจะต้องมีระบบป้องไฟฟ้าสถิตนั้น จะต้องทำอย่างไรบ้าง ?

ระบบป้องไฟฟ้าสถิตบริเวณท่อน้ำมัน ต้องทำการติดตั้งสายกราวน์เพิ่มเติมตรงบริเวณดังต่อไปนี้

  • บริเวณ Dispenser Sump คือจากหน้าแปลนท่อใต้ตู้จ่ายโดยลากสายกราวน์จากหน้าแปลนท่อมาโยงเข้าระบบกราวน์ของตู้จ่าย
  • บริเวณ Tank Sump คือลากสายกราวน์เชื่อมโยงถึงกันระหว่างหน้าแปลนของท่อรับ ท่อระบายไอ และท่อจ่าย และลากสายไปจบที่กราวน์ของระบบไฟรวม (Ground Test Box)
  • บริเวณจุดลงน้ำมันและท่อระบายไอน้ำมัน คือลากสายกราวน์ระหว่างท่อเชื่อมโยงกันไปและลากสายไปจบที่กล่องกราวน์รวม

7) Watertight Tank Sump คืออะไร? มีข้อดีอย่างไรบ้าง?

เป็น Tank Sump แบบระบบปิดกันน้ำ 100% ไม่จำเป็นต้องมีระบบระบายน้ำทิ้ง สามารถลดความเสี่ยงในกรณีน้ำท่วมจากภายนอกเข้ามาภายในบริเวณฝา Manhole ได้

8) ปั้มซัมเมอร์ส มีระบบตรวจจับและป้องกัน น้ำมันรั่วอย่างไร ?

ระบบ Submers ตัวปั๊มจะมีระบบกลไกตรวจจับความต่างแรงดันฝั่งดูดและฝั่งจ่าย หากมีแรงดันแตกต่างกันมากระบบจะทำการตัดการจ่ายน้ำมัน(โดยการลดการจ่ายน้ำมันน้อยลง) จึงเป็นจุดสังเกตให้เรารับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องทำการตรวจสอบหาสาเหตุต่อไป

9) การตรวจสอบท่อน้ำมันรั่วต้องทำอย่างไร ?

  • สังเกตบริเวณใต้ตู้จ่ายน้ำมันด้วยสายตาว่ามีการรั่วซึมของน้ำมันหรือไม่
  • สังเกตปริมาณน้ำมันออกจากมือจ่ายมีปริมาณน้อยหรือไม่ (จากข้อที่8 ระบบSubmersจะทำการหรี่ลดปริมาณน้ำมัน)
  • หากเกิดความไม่แน่ใจ ให้ติดต่อทีมติดตั้งระบบน้ำมันเพื่อทำการตรวจสอบและทดสอบต่อไป

10) ถังน้ำมันที่ใช้งานอยู่ มีวิธีการตรวจสอบรั่วอย่างไร?

  • ถังน้ำมันรุ่นใหม่มีผนัง 2 ชั้น และจะทำการสุญญากาศผิวชั้นนอกมาจากโรงงาน (Vacuum)  สามารถสังเกตได้จากเกจ์วัดที่ติดมากับถังต้องไม่ตีเป็นศูนย์ อีกทั้งเมื่อติดตั้งเสร็จจะมีสายสัญญาณแจ้งเตือนวัดรั่ว(Leak Alarm) แจ้งเตือนให้เรารับทราบหากเกิดกรณีถังชั้นนอกรั่ว
  • ในกรณีต้องการตรวจสอบการรั่วของถังชั้นในโดยมีน้ำมันอยู่ในถัง ต้องทำการปิดวาล์วฝั่งท่อจ่ายและท่อระบายไอ พร้อมบล็อกท่อลงน้ำมันโดยใส่เกจ์วัดเอาไว้ตรงจุดลงน้ำมัน (ทดสอบถังชั้นใน+ท่อลงน้ำมัน) จากนั้นทำการอัดไนโตรเจนเข้าในระบบที่แรงดัน  3-5 PSI.เป็นเวลาอย่างน้อย 1ชม. ต้องไม่เกิดการรั่ว (ขั้นตอนดังกล่าวต้องทำโดยผู้ชำนาญการเท่านั้น)

11) การ Calibrate ถังน้ำมัน คืออะไร?

การ Calibrate คือการตวงวัดและบันทึกข้อมูลเพื่อทำสเกลวัดปริมาณน้ำมันในถัง โดยสเกลดังกล่าวจะปรากฏในไม้วัดสเกลซึ่งทำจากแสตนเลส เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบปริมาณน้ำมันคงเหลือในถังน้ำมันชนิดนั้นๆ

12) การ Flush line คืออะไร ?

การ Flush Line คือการล้างทำความสะอาดระบบท่อรับและท่อจ่ายน้ำมัน โดยการทำความสะอาดจะใช้ Submers ดูดน้ำมันที่มีอยู่ในถังไล่ล้างเศษตะกอนฝุ่นออกจากระบบท่อ และวนระบบประมาณ 30 นาทีของแต่ละหัวจ่าย โดยการ Flush Line จะทำหลังจากการลงน้ำมัน และทำก่อนการตั้งตู้จ่ายน้ำมัน